“ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาบนช่องปากได้ตามปกติ หรือโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน”
ช่วงอายุที่พบฟันคุดได้บ่อยก็คือ 17-25 ปี
อย่างไรก็ตามพบว่า หลายคนอยู่ร่วมกับฟันคุดไปจนตายโดยไม่มีปัญหาก็มี
แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับต้องทุกข์ทรมานกับฟันคุด
สาเหตุที่เกิดฟันคุดเนื่องจากพื้นที่ของขากรรไกรไม่เพียงพอที่จะให้ฟันซึ่นั้นขึ้นได้ตามปกติ
เช่น ถูกกีดกันจากฟันซี่ข้างเคียง มีกระดูกหรือเหงือกคลุมอยู่หนาจนไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ หรือมุดอยู่ในขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่าง เป็นต้น
ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด
การผ่าตัดฟันคุดมีจุดประสงค์หลายประการ ได้แก่
1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
3. เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
4. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น
5. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
6. วัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ
สนใจนัดปรึกษาคุณหมอหรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อนัดหมาย
สาขาอนุสาวรีย์ชัยฯ 065 663 5915
สาขาสุขุมวิท ซ. 3 (BTS นานา) 086 556 5665
สาขาประตูน้ำ 095 564 6565